ช่วง...ท่องโลก
แอ่น แอ๊น แอ้นนน >< สำหรับช่วงท่องโลกนะคะ ป๊อปก็อยากจะพาทุกท่านไปเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจของแต่ละประเทศทั่วโลก เพราะปัจจุบันนั้น เศรษฐกิจของแต่ละประเทศทั่วโลกมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น เดี๋ยวก็ขึ้น เดี๋ยวก็ลง โอ้ยยมึนหัว = ='
ป๊อปเลยอยากฝากเกร็ดความรู้เรื่องเศรษฐกิจเอาไว้ เผื่อมีประโยชน์ต่อท่านก็ได้นะคะ
รู้เอาไว้ ใช่ว่าจะเสียหาย จริงมั้ยเอ่ย ?
อ้ะอ้ะ แต่ตอนนี้เรามีแขกรับเชิญที่จะมาร่วมท่องโลกและมาให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจของแต่ละประเทศไปกับพวกเราด้วยคะ ^^ อยากจะทราบหรือยังเอ่ยว่าประเทศที่ป๊อปจะพาทุกท่านร่วมเนรมิตเข้าไปสู้โลกแห่งเศรษฐกิจของพวกเรา จะเป็นประเทศอะไรบ้างน๊า ติ๊กต่องๆ ได้แก่ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศในฝันของใครหลายๆคนเชียวนะ ต่อไปคือดินแดนอาทิตย์อุทัย หรือประเทศญี่ปุ่นนั่นเองคะ ว้าววๆ ^^ ประเทศต่อไปได้แก่...ออสเตรเลีย และต่อไปคือนิวซีแลนด์และสุดท้าย ท้ายสุด ได้แก่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ยักษ์ใหญ่ของโลกเรานี่เองค่ะ
พร้อมกันแล้วหรือยังที่จะร่วมท่องโลกไปกับพวกเรา ถ้าพร้อมแล้ว ไป
เศรษฐกิจการค้าของประเทศอิตาลี
สำหรับประเทศนี้ ป๊อปจะขอมาให้ความรู้กับทุกๆท่านนะคะ อย่ารีบเบื่อกันก่อนละ!
อ้ะอ้ะ ฟังค่ะๆ โครงสร้างทางเศรษฐกิจทั่วไป อิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง
จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร (net food importer) และพลังงาน ปัจจุบันอิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มาเป็นแบบมีอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศสเชียวนะ โอ้โห O_o อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
อุตสาหกรรมที่สำคัญมี รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้าและแฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่มG8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของ สหภาพยุโรป (EMU) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม
ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ ด้านสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่vประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจและแบ่งปัน ผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลด บทบาทของพรรคการเมืองโดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ
แต่ แต่ แต่ อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายประการเลยนะคะ ที่สำคัญได้แก่ การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่าง กันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (Lombardy, Emilia,
Tuscany) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะ Sicily และ Sardinia ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่รวมกันเป็นร้อยละ 40 ของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20
- ร้านค้าปลีกขนาดกลาง (พื้นที่ 250-2,500 ตารางเมตร) เช่น supermarket , convenient store, outlet เป็นต้น และร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ (พื้นที่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป) จะต้องได้รับการอนุญาตจัดตั้งโดยคำนึงถึงการแบ่งเขตพื้นที่ (zoning) และการตรวจสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ (economic needs test) ต่างๆ เช่น จำนวนประชากร การกระจายการจัดตั้งร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ผลกระทบต่อสภาพจราจร การจ้างงาน และการสร้างงานใหม่ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลแคว้นจะพิจารณาร่วมกับเทศบาลเมือง และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตให้จัดตั้งร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการชะลอความเติบโตในภาคการค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ของอิตาลีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
-ปัจจุบันรัฐบาลอิตาลีมีนโยบายสนับสนุนให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กปิดกิจการหรือรวมตัวกันโดยจะให้เงินชดเชยแก่เจ้าของร้านที่เลิกกิจการก่อนเกษียณอายุ และรวมตัวเพื่อเปิดกิจการร้านค้าปลีกขนาดกลาง เพื่อลดการแข่งขันระหว่างการค้าปลีกอื่นๆ ในย่านเดียวกัน เป็นต้น
ข้อกำหนดสำหรับกิจการของต่างชาติ
- ธุรกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง ของงอิตาลีมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ในสภาพตลาดที่พัฒนาแล้วและไม่มีข้อกีดกันต่อผู้ประกอบการต่างชาติในกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง
- ปัจจุบัน มีร้านค้าปลีก/ค้าส่ง ขนาดใหญ่ของต่างชาติเปิดกิจการ
ในอิตาลี อาทิ Carrefour (ฝรั่งเศส) Auchan (ฝรั่งเศส) Metro (เยอรมัน)
Lidl (เยอรมัน) Rewe (เยอรมัน) Tenglemann (เยอรมัน) IKE (สวีเดน)
* เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับเศรษฐกิจของประเทศอิตาลี ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่าประเทศที่เจริญแล้วยังต้องมีปัญหาการตกงาน การขาดดุลงบประมาณอยู่อีก แต่ยังไงแล้ว พวกเราก็ขอเป็นกำลังใจให้กับประเทศอิตาลีด้วยนะคะ : )
เราไปต่อกันที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนบ้านของเรากันเลยค่ะ ดุซิว่าเศรษฐกิจบ้านเมืองเค้าจะเป็นเช่นไร
เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี
และต่อไป คือประเทศออสเตรเลีย
เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย
มองในแง่เศรษฐกิจ ประเทศออสเตรเลียอาจจะกล่าวได้ว่ามีขนาดเศรษฐกิจ หรือ GDP
(Gross Domestic Product) ประมาณ U$ 450 Billion ซึ่งถือได้ว่าเป็นขนาดเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นอันดับที่ 14 ของโลก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีข่าวว่า ออสเตรเลียประสบปัญหาขาดดุลการค้า (ซื้อสินค้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่ามากกว่าออสเตรเลียสามารถขายสินค้าในต่างประเทศ) เป็นมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ยังปรากฏว่า ออสเตรเลียมีหนี้สินต่างประเทศประมาณ 7% ของ GDP ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่า ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดี และโชคดี เนื่องจากในปัจจุบันออสเตรเลียกำลังเร่งการผลิตในด้านเหมืองแร่ และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการส่งออกอย่างขนาดใหญ่ เพราะกำลังซื้อจากประเทศจีนเพียงประเทศเดียวก็เป็นมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะถ่านหินแ ละแร่เหล็ก ซึ่งจีน และประเทศในเอเซียหลายประเทศมีความต้องการซื้อมาก
ออสเตรเลียในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาหนักในด้านการผลิตเหมืองแร่และทรัพยากรธรรมชาติ โดยผลิตได้ไม่รวดเร็ว และทันต่อความต้องการของประเทศผู้ซื้อ การขนส่งถ่านหินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อการส่งออก ซึ่งโดยปกติกระทำโดยทางเรือก็ประสบความล่าช้าจากสิ่งอำนวยความสะดวกของการท่าเรือ ที่ไม่เพียงพอต่อการขยายตัวด้านการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความโชคดีของออสเตรเลียในด้านการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าจะทำรายได้เข้าประเทศอย่างมากจะเป็นจริงเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของออสเตรเลียในการปรับตัว และการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ประเทศแคนาดาและบราซิลซึ่งเป็นคู่แข่งของออสเตรเลียในด้านของความกว้างใหญ่ของพื้นที่ และการมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ กำลังเร่งการผลิตและส่งออกทรัพยากรธรรมชาติเป็นการใหญ่เช่นกัน
และประเทศก่อนสุดท้ายท้ายสุด คือประเทศ...นิวซีแลนด์
เศรษฐกิจของประเทศนิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์ เป็นประเทศหนึ่งในเขตแปซิฟิกที่มีการทำอุตสาหกรรม เช่น การต่อเรือ โรงงานเบียร์ไวท์ โรงงานปลากระป๋อง แต่ส่วนใหญ่การอุตสาหกรรมในนิวซีแลนด์มีน้อยมาก และ มีการทำอุตสาหกรรมการเกษตร เช่นการทำผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมการขุดแร่ เช่น ถ่านหิน เหล็ก อุตสาหกรรมป่าไม้ และ ยังมีการเพาะปลูกที่ทำให้นิวซีแลนด์มีรายได้มากส่วนหนึ่ง เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และ ผลไม้เช่น สตรอเบอรี่ และแอปเปิล เป็นต้น
ด้านเศรษฐกิจ (2548)
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2.2
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 108.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 26,441 ดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงาน ร้อยละ 3.9
อุตสาหกรรมหลัก การแปรรูปอาหาร ไม้ สิ่งทอ เครื่องจักร กระดาษ ปุ๋ย ซีเมนต์ แผ่นเหล็ก อลูมิเนียม
เกษตรกรรมหลัก เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ผลิตภัณฑ์นม ขนแกะ ผักและผลไม้
ปริมาณการค้า ในปี 2548 นิวซีแลนด์มีปริมาณการค้ารวม 46.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งออก 21.9 พันล้านดอลลาร์ นำเข้า 24.7 ล้านดอลลาร์ เป็นผลให้นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศคู่ค้าสำคัญ ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน (ตามลำดับ)
สินค้าเข้า รถยนต์ เครื่องจักรกล เชื้อเพลิง เครื่องใช้ไฟฟ้า และพลาสติก
สินค้าออก ผลิตภัณฑ์นมเนย เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ไม้ เครื่องจักร
และเกร็ดความรู้สุดท้ายท้ายสุดนั่นก็คือ >< ประเทศมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกานั่นเองค่ะ
เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา
ระบบ เศรษฐกิจ ทุนนิยม ( Capitalism ) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโดยที่รัฐจะเข้าแทรกแซงใน กิจการของเอกชนน้อย และสนับสนุนให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 14,264.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2551)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDP per capita) 48,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2551 ประมาณ)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ร้อยละ 1.1 (2551)
อัตราการว่างงาน : ร้อยละ 8.1 (กุมภาพันธ์ 2552)
อุตสาหกรรม : สหรัฐฯ เป็นผู้นำทางภาคอุตสาหกรรมของโลก มีความหลากหลายสูงและมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาก เช่น ปิโตรเลียม เครื่องยนต์เครื่องบิน อุปกรณ์การสื่อสาร เคมีภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ป่าไม้ เหมืองแร่
ดุลการค้า : มูลค่า – 677,099 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2551)
การส่งออก: มูลค่า 1,842,974 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2551)
สินค้าส่งออก : สินค้าทุน (ยกเว้นรถยนต์) ร้อยละ 36 สินค้าอุตสาหกรรม (industrial supplies and materials) ร้อยละ 29.7 สินค้าอุปโภคบริโภค ร้อยละ 12 รถยนต์ ร้อยละ 9 อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 8 (2551)
ประเทศคู่ค้าในการส่งออก : แคนาดาร้อยละ 20 เม็กซิโกร้อยละ 11.7 จีนร้อยละ 5.5 ญี่ปุ่นร้อยละ 5.1 เยอรมันนีร้อยละ 4.2 (2551)
การนำเข้า: มูลค่า 2,520,073 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2551)
สินค้านำเข้า : อุปกรณ์ในการอุตสาหกรรมร้อยละ 37 (น้ำมันดิบร้อยละ 16) สินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 21.6 สินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 23 computer และ accessories ร้อยละ 4.7
ประเทศคู่ค้าในการนำเข้า :แคนาดาร้อยละ 16 จีนร้อยละ 16 เม็กซิโกร้อยละ 10.3 ญี่ปุ่นร้อยละ 6.6 เยอรมนีร้อยละ 4.6 (2551)